วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



ลูกสูบ (Piston) มีความสำคัญมากในการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายใน มันเป็นสิ่งเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานลูกสูบจะเคลื่อนที่จากการขยายตัวในการเผาไหม้ก๊าซในพื้นที่กระบอกสูบ พลังการเคลื่อนที่นี้จะส่งผ่านก้านสูบ (Piston rod) และเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนที่ทำให้การเคลื่อนที่ของลูกสูบมีพลังทวีคูณ ก็คือแหวนลูกสูบ (Cylinder ring) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการรั่วไหลของอากาศ น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันเครื่อง ดังนั้นการจุดระเบิดแต่ละครั้งจะให้พลังงานมาก แหวนบนสุด เป็นแหวนอัด ( Compression Ring Groove ) แหวนล่างสุด เป็นแหวนน้ำมัน (oil scraper Ring Groove )ลูกสูบ ส่วนใหญ่ที่ใช้ในเครื่องรถยนต์ทำจากโลหะอลูมิเนียมผสม ทำให้มีน้ำหนักเบา  ทนทานต่อการเคลื่อนที่เสียดสีกับผนังกระบอกสูบได้เป็นอย่างดี
ขนาดกระบอกสูบ (Bore Cylinder)
คือความแตกต่างระหว่างปริมาตรน้อยสุดและมากสุด  เรียกว่า ความจุของกระบอกสูบ (Displacement)   มีหน่วยเป็น ซีซี  (cc) หรือเรียกว่าปริมาตรกระบอกสูบก็ได้
ระยะชัก (Stroke)
คือระยะห่างระหว่างการเคลื่อนที่ของลูกสูบ จากตำแหน่งสูงสุดด้านบน (Top Dead Center = TDC) ถึงตำแหน่งต่ำสุดด้านล่าง (Bottom Dead Center = BCD) ดังนั้นระยะชักสั้น รอบเครื่องยนต์จะเร็วขึ้น แต่แรงบิดจะลดลง ระยะชักมีหน่วยเป็น มิลิเมตร มักจะสัมพันธ์กับความกว้างกระบอกสูบ เช่น ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก = 89.0 x 100.0 มม.
การผลิตลูกสูบรถยนต์
วัตถุดิบคืออลูมิเนียมผสม 4032  (12 Si, 1Mg 1 Cu 1 Ni) ใช้ตี (forge) ให้เป็นลูกสูบรถยนต์ แทนการหล่อ เนื่องจากจะได้เนื้อโลหะที่แน่น ไม่มีโพรงอากาศ ต่อจากนั้นก็เจาะรูเพื่อใส่ก้านสูบ และกลึงร่องแหวน สำหรับการผลิตลูกสูบรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้ 3 วิธี คือ
  1. อลูมิเนียมผสมไฮเปอร์ยูเทกติก (hypereutectic) โดยใช้ซิลิคอนผสมประมาณ 18% สำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ และ สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 11-13%
  2. อลูมิเนียมผสมยูเทกติก (eutectic)โดยส่วนผสมของซิลิคอนอยู่ที่ 12.7% นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของโลหะอื่น ๆ อีก เช่น การเติมธาตุโซเดียม  (Na) หรือ สตรอนเซียม
    (Sr) ลงไป
  3. อลูมิเนียมผสมไฮโปยูเทกติก (hypoeutectic) อลูมิเนียมผสมซิลิคอน 12% ซิลิคอน ไม่เป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากโลหะผสมไฮโปยูเทกติกมีช่วงการแข็งตัวกว้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น